Biotechnology เทคโนโลยีที่เบ่งบานด้วยสิ่งมีชีวิตนับล้าน

[ux_image id=”4171″]

[gap]

[row h_align=”center”]

[col span=”8″ span__sm=”12″]

        มีข้อพิสูจน์มากมายที่บอกว่าความสามารถของมนุษย์ไร้ขีดจำกัด

       ไบโอเทคก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์คิดค้นเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติได้อย่างแยบคาย

        ไบโอเทค เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของคำว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีชีวภาพ คุณ Karl Ereky วิศวกรด้านการเกษตรชาวฮังการีที่ใครๆ ต่างก็บอกว่าเป็นพระเจ้าแห่งวงการไบโอเทคได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพคือเทคโนโลยีในการผลิตสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความช่วยเหลือจากสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตที่ว่าอาจเป็นจุลินทรีย์ตัวเล็กๆ เนื้อเยื่อโปรตีน หรือดีเอ็นเอในตัวของคนเราก็ได้ หลายคนอาจรู้สึก เอ๊ะๆ ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่แค่คน สัตว์ พืชเรอะ?

[ux_image id=”4180″]

        เล่าให้เห็นภาพคือในโลกอันแสนอบอุ่นค่อนไปทางร้อนใบนี้เต็มไปด้วยผู้อาศัยที่มีชีวิตเหมือนกันกับเราหลากหลายสายพันธุ์ หลากหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจิ๋วชนิดที่ว่ามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตรูปร่างใหญ่โตกำยำ อยู่ไกลลิบๆ ก็ยังมองเห็น พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่เราคุ้นเคย ไล่ตั้งแต่สัตว์น้อยใหญ่ ไปจนถึงเห็ด ราซึ่งขึ้นตามซอกหลืบต้นไม้ จุลินทรีย์บนผืนดินผืนน้ำ รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่ปกคลุมและอาศัยอยู่ในร่างกายของเรานับล้านๆ ชีวิต เทคโนโลยีชีวภาพจะใช้ทักษะความสามารถของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาช่วยให้ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น เหมือนมีเครื่องจักรธรรมชาติคอยเป็นกำลังสำคัญให้เรา

       ไบโอเทคหรือเทคโนโลยีชีวภาพอยู่รวมเป็นเนื้อเดียวกับวิถีชีวิตของผู้คนมาอย่างยาวนาน จะบอกว่าเก่าแก่พอๆ กับมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ ไบโอเทคแทรกตัวอยู่ในทั้งอาหารที่เรากินหรือการดูแลสัตว์เลี้ยงที่เรารัก การทำเกษตรกรรม เพาะปลูกพืชผลเพื่อหล่อเลี้ยงทุกชีวิต

[ux_image id=”4181″]

        ไบโอเทคยุคแรกๆ ที่เราพอจะนึกออกอย่างการหมักไวน์หรือเบียร์ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองในเวลาต่อมา หรือการดูแลไร่นาพืชสวนด้วยปุ๋ยธรรมชาติของเกษตรกร การผลิตชีสด้วยจุลินทรีย์ การนำผักมาหมักเพื่อเก็บไว้กินในฤดูขาดแคลน เมื่อโลกหมุนไปตามวันเวลาไบโอเทคก็พัฒนาตาม เริ่มมีการนำดีเอ็นเอ จุลินทรีย์ต่างๆ มาไว้ในหลอดทดลอง และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาของมวลมนุษยชาติ เช่น การนำส่วนของพืชมาทดลองและปรับปรุงเป็นอาหารที่มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ เพื่อแก้ปัญหาเนื้อสัตว์ขาดแคลนจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของผู้คน

[ux_image id=”4182″]

        ไบโอเทคแบบไทยที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่อดีตอย่างแรกๆ เรานึกถึงการหมักปลาร้า เพราะได้มีโอกาสฟังเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ว่าย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน ยุคที่แม้ว่าในนาจะมีข้าว แต่ในน้ำกลับไม่มีปลาเพียงพอให้รับประทาน ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาด้วยการนำปลาน้ำจืดมาหมักกับเกลือและรำข้าว ในกระบวนการนี้จุลินทรีย์จะเริ่มทำงานและปรุงแต่งอาหารรสกลมกล่อมชื่อว่าปลาร้าที่กินได้ทั้งปีแม้ว่าปลาในน้ำจะหายาก นับว่าเป็นไบโอเทคแบบไทยที่เราคุ้นเคย

       ไม่ใช่แค่สู้กับพืชพรรณอาหารที่หายาก ไบโอเทคยังถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอาการที่แปรปรวนขึ้น หรือเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายก็สามารถจัดการด้วยวัคซีนจากส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่สร้างด้วยกระบวนการไบโอเทค

        ย้อนกลับไปที่พืชสวนไร่นา นักวิทยาศาสตร์ในช่วงหลังๆ ยังได้เริ่มนำส่วนประกอบจากพืชมาใช้ปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศ ไม่ก็ปรับปรุงให้ทนกับสัตว์รบกวน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลง ช่วยให้สามารถผลิตวัตถุดิบทำอาหารที่ปลอดภัยและมีมากพอกับจำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ใช่แค่อาหารการกิน ไบโอเทคยังอยู่ในทุกองค์ประกอบของชีวิต ไม่ว่าจะการผลิตน้ำยาซักผ้า เส้นใยฝ้ายในเสื้อผ้า หรือเครื่องสำอางที่เราใช้เป็นประจำ

        เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน ทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญต่อมนุษยชาติของเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์พยายามนำมาปรับใช้เพื่อความอยู่รอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคต แม้ว่าจะยังมีการถกเถียงเรื่องประโยชน์และโทษของไบโอเทค แต่ก็นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีแห่งการพัฒนา เพราะเราเชื่อว่าไม่มีอะไรส่งผลดีหรือเลวร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหาส่วนดีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

[/col]

[/row]