สวัสดิภาพที่ดีใครก็ต้องการ แม้แต่สัตว์ Animal Welfare (สวัสดิภาพสัตว์)

[ux_banner bg=”9985″ bg_size=”original” bg_pos=”0% 0%”][text_box width=”41″ width__md=”44″ position_x=”5″ position_y=”95″ visibility=”hide-for-small”][ux_text visibility=”hidden”]

Food & Health

กินทุเรียนมากไป ปวดท้อง โปรไบโอติกช่วยได้

[/ux_text][/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”3″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : ทีมวิชาการ SAS

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Feed & Farm

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 9 Oct 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        สวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare ที่เราคุ้นหูสำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงคู่บ้าน เช่น สุนัข แมว หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงทางเศรษฐกิจ เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โค ล้วนต้องการสวัสดิภาพในการมีชีวิต

        ถึงแม้เขาจะเจริญเติบโตเพื่อการบริโภคแต่ระหว่างการมีชีวิตตลอดจนถึงการเข้าเชือดนั้นก็ต้องมีหลักการสวัสดิภาพทั้งสิ้น ดังนั้นผู้เลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องใส่ใจในหลักการเหล่านี้เช่นกัน

[/col][/row] [row h_align=”center”][col span__sm=”12″ align=”center”][ux_image id=”9988″ image_size=”original”][/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ถูกริเริ่มโดยสหภาพยุโรป (EU) อียูกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการเลี้ยงสัตว์นี้และบังคับใช้มานานกว่า 30 ปี ในหลายๆ ประเทศก็ได้นำหลักการนี้มาปฏิบัติ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ได้นำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และด้วยเกณฑ์การส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกไปต่างประเทศ เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามสวัสดิภาพสัตว์ปีกสำหรับการผลิตไก่เพื่อส่งออก (Genesis GAP)

        โดยหลักการคุ้มครองสัตว์เลี้ยงทั้งที่นำมาเป็นอาหาร ใช้งาน และเพื่อการวิจัย ให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้สุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ ยึดหลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ได้แก่

  1. สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง (Freedom from hunger and thirst)
  2. มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from discomfort)
  3. มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค (Freedom from pain, injury and disease)
  4. มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress)
  5. มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal behavior)
[/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”6″ span__sm=”12″ align=”center”][ux_image id=”9990″ image_size=”original”][/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        สำหรับเดือนนี้ SAS ขอยกตัวอย่างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราที่เริ่มใช้หลักการนี้อย่างแพร่หลาย คือ อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อนั่นเอง บริษัทใหญ่ๆ หรือฟาร์มหลายๆ แห่ง

  • เริ่มจากเลี้ยงไก่รูปแบบปล่อยอิสระในโรงเรือนปิดปรับอากาศ (Evaporative Cooling System) มีการระบายอากาศในโรงเรือนที่ดี ไม่เลี้ยงเบียดเสียดหนาแน่น
  • เน้นใช้หลัก Bio – Security เข้ามาจัดการฟาร์มเพื่อความปลอดภัยทั้งทางกายภาพ และชีวภาพในฟาร์ม ดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยสัตวบาลผู้มีความรู้และสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม
  • การปฎิบัติต่อตัวไก่เป็นไปอย่างนุ่มนวล การใช้อุปกรณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม พื้นที่การเลี้ยงที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสัตว์
  • เลี้ยงดูที่ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจ เช่น ระหว่างการจับไก่ก่อนการเข้าโรงเชือดต้องทำอย่างนุ่มนวล
  • ดูแลจัดการน้ำและอาหารให้ไก่ได้รับอย่างเต็มที่ ไก่ทุกตัวมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอาหาร อาหารเสริมที่ดี และสารอาหารครบถ้วนเหมาะสมกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงอายุ
  • เลี้ยงโดยปราศจากการใช้ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะจุดประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
[/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”6″ span__sm=”12″ align=”center”][ux_image id=”9993″ image_size=”original”][/col] [col span=”6″ span__sm=”12″ align=”center”][ux_image id=”9992″ image_size=”original”][/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        สำหรับการจัดการสวัสดิภาพในด้านต่างๆ ค่อนข้างมีแนวปฏิบัติอย่างชัดเจนอยู่แล้ว SAS ขอแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการในด้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของไก่เนื้อ หลักการง่ายๆ ของการสร้างสุขภาพที่ดีนั้นไม่อยาก

        ประการแรกก็คือ อาหารที่ไก่รับต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนไม่ว่าจะเป็นจากทางชีวภาพ เช่น เชื้อรา แบคทีเรียก่อโรค หรือทางกายภาพ เช่น ของมีคม เศษพลาสติกต่างๆ เศษต่างๆ ที่ไม่ใช่วัตถุดิบในสูตรอาหาร ทางเคมี เช่น โลหะหนักต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัวสัตว์

        ประการต่อมาสารอาหารต้องครบถ้วน สมดุลทั้งระดับ โปรตีน พลังงาน สัดส่วนแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส แร่ธาตุหลักต่างๆ ที่ตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุของไก่ ซึ่งสูตรอาหารที่ดีจำเป็นต้องย่อยง่ายและไก่นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุด

        และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ให้มีอารมณ์ดี ไม่เครียดนั้น การสร้างสุขภาพของฝูงให้แข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากสูตรอาหารที่ดีแล้ว อาหารเสริมสำหรับไก่เพื่อบำรุงสุขภาพก็สำคัญเช่นกัน กระแสนิยมในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์ปีก เน้นเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Probiotic) เพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายไก่ในสมดุล

        โดยจุลินทรีย์ที่ดีจะเข้าไปจัดการเชื้อก่อโรค และที่สำคัญ เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ลดลง เราจึงต้องป้องกันและสร้างสุขภาพที่ดีให้ไก่ตั้งแต่เริ่มแรก

        เมื่อเราจัดการทุกอย่างอย่างเหมาะสมและถูกต้องให้เป็นไปตามหลักการของ Animal Welfare ผลที่ตามมาก็คือ ไก่สุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ และในด้านประสิทธิภาพการเจริญเติบโตเป็นไปตามมาตรฐาน ผลกำไรจากการประกอบธุรกิจก็ดีตามมาด้วย

[/col][/row] [row style=”small” h_align=”center”][col span__sm=”12″ span__md=”12″ align=”center”]

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์

[/col] [col span=”5″ span__sm=”8″ span__md=”4″ align=”center”][ux_image id=”9994″][button text=”สั่งซื้อ” radius=”99″ link=”https://shopee.co.th/Biotic-Max-Plus-1-%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%AA-1-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81-(%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3)-i.240025070.6935678541″ target=”_blank”][/col][/row]