เสริมประสิทธิภาพของ IF ด้วยโปรไบโอติก

[ux_banner bg=”9060″ bg_size=”original”][text_box width=”41″ width__md=”38″ position_x=”5″ position_y=”85″ visibility=”hide-for-small”]

Food & Health

เสริมประสิทธิภาพของ IF ด้วยโปรไบโอติก

[/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Food & Health

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 30 July 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก Intermittent Fasting (IF) หรือการแบ่งเวลากินเป็นช่วง และอดเป็นช่วงนั่นเอง ซึ่งการทำ IF นั้นเป็นที่รู้จักกันมาแพร่หลายและยาวนานมากตั้งแต่สมัยโบราณ โดยประโยชน์หลักๆ มีทั้งการลดระดับอินซูลินในเลือด เพื่อป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน การลดไขมัน รวมไปถึงการรักษาสุขภาพโดยรวมอีกด้วย

        IF จะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือช่วงกิน (Feed) และช่วงอด (Fast) ซึ่งตอนกิน ไม่ได้แปลว่าเราจะสามารถกินอะไรก็ได้ ในปริมาณไหนก็ได้ เพื่อที่จะให้เห็นผลได้ดีที่สุดควรจะระวังเรื่องของการกินควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ การทำ IF จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพลำไส้ของเราด้วยนะ!

        วันนี้ SAS จึงมาชวนคุยเรื่องการทำ IF ที่มีผลต่อสุขภาพของลำไส้ และการเติมโปรไบโอติกเพื่อเสริมประสิทธิภาพของการ IF ที่ดีมากขึ้น

“จากการทดลองโดยแบ่งกลุ่มหนูเป็น 2 กลุ่ม โดยให้อาหารประเภทเดียวกันและปริมาณเท่ากัน โดยให้หนูกลุ่มแรกกินอาหารในช่วงเวลาที่จำกัด และกลุ่มที่ 2 จะกินอาหารเวลาใดก็ได้ที่อยากกิน โดยผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มแรกลดน้ำหนักได้มากกว่า และมีปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้เยอะกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ”

[ux_image id=”9061″]

ช่วง Fasting กับการเปลี่ยนแปลงในลำไส้

        ในช่วงอดอาหาร จุลินทรีย์ในลำไส้ของเราจะได้พักจากหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารบางชนิด และได้ไปซ่อมแซมหรือดูแลในส่วนอื่นๆ เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ โดยการ Fasting ยังช่วยรักษาจำนวนจุลินทรีย์ดีและคงความหลากหลายของจุลินทรีย์เหล่านั้นอีกด้วย

        นอกจากนี้การ Fasting แบบกิน 1 วัน และอด 1 วันยังช่วยให้ร่างกายเกิดการเคลียร์แบคทีเรียและจุลินทรีย์ดีที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งทำให้เกิดความสมดุลระหว่างทั้ง 2 ชนิดนี้ และจากงานวิจัยยังพบว่าในตอนที่เราอดอาหาร แบคทีเรียก่อโรคในลำไส้ของเรามีแนวโน้มที่จะตายง่ายกว่า ทำให้เหลือแต่จุลินทรีย์ดีในการยึดเกาะผนังลำไส้ของเรานั่นเอง

[ux_image id=”9062″]

โปรไบโอติก ตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการ Fasting

        ในลำไส้ของเรามีทั้งจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกและแบคทีเรียก่อโรคอยู่ปะปนกัน โดยทั้ง 2 ชนิดนี้จะแย่งพื้นที่กันในการเกาะผนังลำไส้ โดยร่างกายมีความอ่อนไหวต่อสิ่งเล็กๆ เหล่านี้มากและแสดงปฏิกิริยาต่างกัน ซึ่งในการทำ IF นอกจากจะมั่นใจเรื่องเวลาในการที่ทำให้ร่างกายได้พักจากการย่อยอาหารแล้ว ยังต้องคำนึงถึงอาหารที่กินเข้าไปอีกด้วย

        โปรไบโอติกถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นประโยชน์มากในการทำ Fasting โดยเฉพาะช่วงการอด เพราะร่างกายจะได้ดูดซึมอาหารที่กินไปได้อย่างเต็มที่และทำให้เราสามารถอดได้โดยไม่รู้สึกหิวถึงขั้นทรมาน และจะค่อยๆ ปรับตัวต่อการอดได้ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ยังเข้าไปช่วยเรื่องของระบบการขับถ่าย ช่วยให้ร่างกายของเราขับของเสียได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก blissly bioshot โปรไบโอติกชนิดผงกรอกปาก รสโยเกิร์ต และ biocap7 โปรไบโอติกชนิดแคปซูลพืช เนื้อนิ่ม ละลายไว

 

อ้างอิง

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1568163716302513

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6924599/

[ux_text visibility=”hidden”]

สั่งซื้อคลิก:

🍫 blissly Milky Pro รส ON THE CHOC: http://bit.ly/milkyprochoc  

🍼 blissly Milky Pro รส REALITY IN WHITE: http://bit.ly/milkyprowhite  

 

อ้างอิง

https://nationaltoday.com/national-chocolate-day/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3566565/#:~:text=Chocolate%20or%20cocoa%20is%20considered,proanthocyanidin%20member%20in%20this%20class

[/ux_text][/col][/row]