เปิดวิธีรับมืออาการท้องผูก ด้วยนมเปรี้ยวแบบละเอียดยิบ

[ux_banner bg=”12050″ bg_size=”original”][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” v_align=”middle” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”5″ span__sm=”9″ span__md=”6″ align=”left”][button text=”ท้องผูก” color=”secondary” style=”outline” size=”small” radius=”4″ expand=”0″ link=”https://sasgroup.co/corporate/%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b8%81/”][/col][/row] [gap height=”10px”][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

ใครๆ ก็รู้ว่าดื่มนมเปรี้ยวแล้วช่วยเรื่องขับถ่าย – แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเครื่องดื่มคุ้นตาขวดนี้มีรายละเอียดยิบย่อยมากกว่าที่เห็น วันนี้ SAS ขอชวนคุยเรื่องนมเปรี้ยวกับอาการท้องผูกและวิธีเลือกดื่มให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

อาจนิยามได้ว่า นมเปรี้ยวคือนมวัวหมักด้วยจุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติกจนมีรสเปรี้ยว หลังจากฆ่าเชื้อวัตถุดิบแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเติมจุลินทรีย์ลงในถังหมัก เมื่อหมักเสร็จ คนให้เข้ากัน แต่งรสโดยเติมน้ำตาล อาจเติมโปรไบโอติกสายพันธุ์ต่างๆ หรือเติมเส้นใยจากผัก เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้นมเปรี้ยว

เราเรียกว่าวิธีหมักนี้ว่า การหมักก่อน หมายถึงหมักก่อนค่อยนำมาใส่บรรจุภัณฑ์ทีหลัง ต่างกับโยเกิร์ตชนิดคงตัวที่ใส่บรรจุภัณฑ์ก่อนแล้วจึงนำมาหมัก และเพราะนมเปรี้ยวหมักมาจากนมวัว ทำให้นมเปรี้ยวมีสารอาหารอย่างแคลเซียม โปรตีน วิตามินไม่แพ้นมวัว แต่มีแลคโตสต่ำกว่าประมาณเกือบเท่าตัว ช่วยลดอาการแพ้แลคโตสที่เกิดจากการดื่มนมวัวได้

เล่าให้เห็นภาพอีกหน่อยคือ เวลาเราหมักนมเปรี้ยว จุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติกจะเข้าไปแยกโปรตีนในนมวัวให้เป็นส่วนเล็กๆ ร่างกายจึงดูดซึมและย่อยโปรตีนได้ง่ายขึ้น

ในนมเปรี้ยวมักมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้อยู่แล้ว ชื่อที่เราคุ้นเคยก็อย่าง แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส (Lactobacillus bulgaricus) แต่ถ้าอยากให้เสริมภูมิคุ้มกันหรือช่วยเผาผลาญ จำเป็นต้องเติมโปรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ เช่น แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus Casei) เพิ่มเข้าไป

โปรไบโอติกจากนมเปรี้ยวที่เข้าไปรวมตัวกันในลำไส้ ยิ่งทำให้จุลินทรีย์ดีในลำไส้เพิ่มขึ้น ทีนี้กรดไขมันห่วงโซ่สั้นก็เพิ่มความเข้มข้นตามไปด้วย บรรดากรดไขมันห่วงโซ่สั้นจะเข้าไปส่งเสียงเชียร์ลำไส้ว่า บีบตัวอีก บีบอีก! บีบอีก! เมื่อลำไส้บีบตัวดี จึงทำให้ขับถ่ายง่าย

ดร.ไช่อิงเจี๋ย ศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยชีวเคมีและอณูชีววิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติหยังหมิง ไต้หวัน แนะนำเคล็ดลับเพื่อให้ได้ประโยชน์จากนมเปรี้ยวจนหยดสุดท้ายตั้งแต่การเลือกซื้อว่า เราควรหยิบนมเปรี้ยวเป็นชิ้นสุดท้ายก่อนจ่ายเงิน เพื่อรักษาอุณหภูมิของนมเปรี้ยวเอาไว้

และควรดื่มจากขวดเดิมดีกว่าเทใส่แก้ว เพราะขวดนมเปรี้ยวได้รับการฆ่าเชื้อรวมถึงออกแบบมาเพื่อให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่มากที่สุด ในช่วงโรคระบาดแบบนี้อาจล้างขวดให้สะอาดก่อนดื่มได้ อาจารย์ไช่เสริมอีกว่าเราควรดื่มนมเปรี้ยววันละ 1 – 2 ขวด โดยสามารถเก็บนมเปรี้ยวในอุณหภูมิต่ำได้ 2 สัปดาห์ หากเกินจากนี้ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตในนมเปรี้ยวอาจลดจำนวนลงจนไม่เหลือมาถึงลำไส้

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ไช่ยังยืนยันว่าสามารถดื่มนมเปรี้ยวตอนไหนก็ได้ที่อยากดื่ม ไม่จำเป็นต้องดื่มหลังหรือก่อนอาหารเท่านั้น เราเชื่อว่าเมื่อทำตามหลักการดื่มแล้วต้องอยู่บนความสะดวกใจด้วย นับว่าเป็นอีกหนึ่งคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญ

บางคนสงสัยว่า ทำไมดื่มนมเปรี้ยวทุกวันแต่ยังท้องผูก หากไม่ใช่อาการท้องผูกเพราะป่วยเป็นโรคอย่างลำไส้แปรปรวนหรือเบาหวาน อาจมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ค่อยได้กินผักผลไม้ กินข้าวไม่เป็นเวลา มีเรื่องให้เครียด ไม่ก็พักผ่อนน้อย เพราะโปรไบโอติกไม่ใช่ยาวิเศษ ต่อให้ดื่มนมเปรี้ยววันละหลายขวด แต่หากไม่ให้ความสำคัญกับอาหารการกินที่หลากหลายและการออกกำลังกาย อาการท้องผูกย่อมมาเคาะประตูเรียกได้ทุกเวลา

อ้างอิง
หนังสือ ลำไส้ดี ชีวียืนยาว

[/col][/row]