สารเคมีที่ยังเหลือและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เราต้องรับมือ

[ux_banner bg=”8323″ bg_size=”original”][text_box width=”49″ width__md=”38″ position_x=”5″ position_y=”100″ visibility=”hide-for-small”][ux_text visibility=”hidden”]

Agricultural&environment

สารเคมีที่ยังเหลือและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เราต้องรับมือ

 

[/ux_text][/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”3″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”4″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Agricultural & Environment

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 7 July 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        คำถามแรกๆ ในใจเราหลังจากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานพลาสติกในซอยกิ่งแก้วคือ หลังจากนี้ผู้คนบริเวณใกล้เคียงจะต้องเผชิญกับสารเคมีหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เมื่อต้องกลับเข้าที่พักอาศัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

[ux_image id=”8311″]

Photo by :  envi.ku.ac.th/personnel/detail/53

ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการติดตามลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสำหรับประเทศไทย ซึ่งจะมาแบ่งปันข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมและการดูแลตัวเองเบื้องต้น

อากาศที่ปนเปื้อนและการดูแลตัวเอง

[ux_image id=”8309″]

Photo by :  insurancethai

        ผศ.ดร.สุรัตน์ บอกกับเราว่า จุดสำคัญที่สุดคือคนในรัศมี 1 กิโลเมตร บริเวณใต้ทางลม เพราะต้องเจอกับสารเคมีและกลุ่มฝุ่นละอองขนาดเล็ก แม้จะยังไม่ทราบว่าทั้งหมดคืออะไรบ้าง แต่เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มคุ้นตากับชื่อ สไตรีน (Styrene) บ้างแล้ว สารเคมีจากการเผาไหม้ชนิดนี้ยังอาจนำมาซึ่งสารประกอบที่เป็นไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่แบบไม่เป็นอันตรายจนกระทั่งเป็นอันตรายที่เราเรียกว่าสารก่อมะเร็ง

        คำแนะนำของ ผศ.ดร.สุรัตน์ สำหรับคนที่กลับบ้านหลังจากอพยพ อย่างแรกเลยคือ หากอยู่ใกล้บริเวณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟดับสนิทจริงๆ คือไม่มีการคุกรุ่น ไม่มีควันลอยขึ้นมา เพราะสารกลุ่มนี้ระเหยง่าย แม้ไม่ถูกเผาไหม้แต่เมื่อมีความร้อน ก็จะถูกกระตุ้นให้ระเหยออกมาอีกและมีโอกาสที่จะคลุ้งอยู่ในพื้นที่

        ควรปล่อยบ้านทิ้งไว้อย่างน้อย 1 กลางวันก่อนกลับเข้าบ้าน เพราะในตอนกลางวัน มีลมพัดและแดดดี โดยการเคลื่อนที่ของอากาศที่ดีจะพัดพาสิ่งตกค้างภายในบ้านออกไป หลังจากนั้นจึงเริ่มทำความสะอาดให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพราะเราไม่รู้ว่าช่วงเวลาเกิดเหตุ ฝุ่นละออง เขม่าควันปลิวลงไปตกตรงไหนบ้าง

สารเคมีกับน้ำที่ปนเปื้อน

[ux_image id=”8308″]

        ผศ.ดร.สุรัตน์ เล่าต่อว่านอกจากอากาศ น้ำก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เมื่อฉีดน้ำดับเพลิง น้ำจะปนเปื้อนสารเคมี คำถามของเราคือน้ำเหล่านี้ไหลไปที่ไหน คำตอบคือ ไหลไปตามแหล่งน้ำบนผิวดิน หรืออาจจะปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดินได้ ผศ.ดร.สุรัตน์ เน้นย้ำว่านี่เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเมื่อสารเคมีเข้าสู่แหล่งน้ำ ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร กระจายสู่ปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

“สิ่งที่ผมกังวลคือการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม น้ำที่ดับเพลิงก็จะมีการปนเปื้อนสารเคมีเหล่านี้ออกมา แล้วน้ำไปทางไหน อย่างแรกคือไหลลงแหล่งน้ำผิวดินธรรมดา หรืออาจจะซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินก็ได้ ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการเก็บตัวอย่าง เป็นสิ่งที่ผมกังวล เพราะเมื่อเข้าสู่แหล่งน้ำ มันมีโอกาสเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร”

 

        เมื่อเราถามถึงน้ำประปา ผศ.ดร.สุรัตน์ อธิบายให้ฟังอย่างเข้าใจง่ายว่า น้ำปะปาจะไหลมาทางท่อที่มีความดัน ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ประกอบกับบริเวณที่เกิดเหตุไม่ใช่แหล่งน้ำดิบ นั่นหมายความว่าน้ำตามแหล่งธรรมชาติอย่างห้วย หนอง คลอง บึง คือส่วนที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า หากมีการไหลมารวมกับดินที่ปนเปื้อน แต่ถ้าใครกังวลเรื่องต้นไม้รอบบริเวณ อาจเบาใจไปเปราะหนึ่ง เพราะพืชไม่ได้ซึมซับรับสารพิษทุกอย่างเร็วขนาดนั้น อย่างไรก็ตามหากน้ำที่ปนเปื้อนไหลไปสัมผัสโดยตรงก็ไม่ปลอดภัยเช่นกัน

 

“การปนเปื้อนในบริเวณมีแน่นอน คำถามถัดไปคือ มันไปไกลขนาดไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของแหล่งน้ำและผิวดินว่าไปไกลขนาดไหน ถ้าไปไกลแล้วไม่รีบกักน้ำที่ปนเปื้อนไว้ก็ยิ่งอันตราย”

 

ดินที่ปนเปื้อนในชุมชน

[ux_image id=”8310″]

        ไม่ใช่แค่การดับไฟ น้ำ หรือควันสารเคมีในอากาศเท่านั้น  ดินก็ปนเปื้อนด้วย ผศ.ดร.สุรัตน์ เล่าว่า ดินปนเปื้อนจากสารเคมีระเบิดและอนุพันธ์ของตัวเองเมื่อถูกเผาไหม้ ความน่ากังวลคือเมื่อดินปนเปื้อน จะมีการนำดินมาใช้หรือไม่ มีผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด

 

“บางทีปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วแหล่งน้ำธรรมชาติไปสู่ห้วยหนองคลองบึง ต้องศึกษาว่าไปตรงไหนบ้าง ถ้าอยู่ในดิน ดินปนเปื้อนขนาดไหน ในอนาคตจะมีการใช้หรือเปล่า หรือใครจะอยู่บริเวณนั้น ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าคิดนะ”

 

        โดยมาตรการในต่างประเทศมักจะระบุชัดเจน ทั้งการเรียกคืนพื้นที่ให้กลับมาสู่สภาพปกติ อาจนำดินบริเวณนั้นออกไปกำจัด ฝัง หรือฟื้นฟูให้ปลอดสารเคมี ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์สารเคมีระเบิดในท่าเรือคลองเตย ที่นอกเหนือจากดับไฟก็ไม่มีมาตรการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดการปนเปื้อนทั้งในอากาศ ดิน และน้ำ

[ux_image id=”8307″]

        แน่นอน ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดแล้ว คำถามคือเราได้มองปัญหาและพร้อมจะนำมาเป็นบทเรียนหรือไม่ หากมองไปถึงผังเมือง จะพบว่าบริเวณรอบโรงงานอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยชุมชนนั้นส่งผลกระทบตามมาไม่น้อยเลยทีเดียว 

        ผศ.ดร.สุรัตน์ ยังกล่าวต่อว่า หลายครั้งเราอาจลืมตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้างเพราะไม่เห็นกับตา แต่เมื่อเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว เราต้องย้อนกลับมาคิดอย่างจริงจังว่าจะแก้ไขอย่างไร ผศ.ดร.สุรัตน์ เน้นย้ำทิ้งท้ายว่า 

 

“ผมมองย้อนกลับไปในเรื่องของผังเมือง อุตสาหกรรมอยู่ติดกับชุมชนที่พักอาศัยได้อย่างไร เป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยนะ คุณจะป้องกันสิ่งแวดล้อมอะไรก็ตาม ผังเมืองเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการป้องกัน ก่อนที่อนาคตจะเกิดกิ่งแก้วสอง กิ่งแก้วสามตามมา”

[/col][/row]