ฝึกตัวเองให้ขับถ่ายเป็นปนะจำ ตามหลักการทำงานของร่างกาย

[ux_banner bg=”12060″ bg_size=”original”][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” v_align=”middle” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”5″ span__sm=”9″ span__md=”6″ align=”left”][button text=”ท้องผูก” color=”secondary” style=”outline” size=”small” radius=”4″ expand=”0″ link=”https://sasgroup.co/corporate/%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b8%81/”][/col][/row] [gap height=”10px”][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

10 วันคือเวลาไม่ถ่ายนานที่สุดเท่าที่เราเคยได้ยิน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมักพูดบ่อยๆ ว่า อยากสุขภาพดี ต้องขับถ่ายเป็นประจำ เคยสงสัยไหมว่าทำไมเรื่องขับถ่ายจึงสำคัญนัก วันนี้ SAS จะมาเล่าให้ฟัง

ในขณะที่อวัยวะทั้งหมดของเราทำงานเป็นทีมเดียวกัน หากลำไส้ซึ่งมีกลไกสำคัญอย่างการดูดซึมสารอาหารเสียสมดุลไปแล้ว ต่อให้เรารับประทานของดีแค่ไหน ร่างกายก็ดูดซึมได้ไม่เต็มที่ กลายเป็นของเสียตกค้าง จุลินทรีย์ดีในลำไส้อาศัยอยู่ไม่ได้ เชื้อโรคจึงอาละวาด ระบบภูมิคุ้มกัน 70 เปอร์เซ็นต์ที่ลำไส้ก็แย่ลง

การดูแลระบบขับถ่ายให้ดี เหมือนได้ดูแลลำไส้ให้สมดุลด้วยใครถ่ายยากอย่าเพิ่งท้อใจ มาดู 6 วิธีช่วยขับถ่ายที่ไม่ฮาร์ดคอร์จนส่งผลเสียกัน

1. ใช้เก้าอี้เล็กวางใต้เท้า
วางเก้าอี้เตี้ยๆ ไว้ใต้เท้าทั้ง 2 ข้างระหว่างขับถ่ายให้คล้ายท่านั่งยองๆ โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยจะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น

2. เสริมโปรไบโอติก
รับประทานโยเกิร์ตที่มีบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) หรืออาหารเสริมโปรไบโอติกเป็นประจำ เพิ่มจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ หมดกังวลเรื่องขับถ่าย

3. เน้นเส้นใย
เลือกอาหารที่มีผัก ธัญพืชต่างๆ เพราะหากขาดเส้นใยพรีไบโอติกจุลินทรีย์ดีจะพากันล้มตาย และเส้นใยยังช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้นด้วย แต่อย่าลืมว่าเมื่อรับประทานเส้นใยต้องดื่มน้ำตามมากๆ

4. ดื่มน้ำหลังตื่นนอน
นอกจากชดเชยน้ำที่เสียไป การดื่มน้ำทันที 1 แก้วหลังตื่นนอนจะช่วยกระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้บีบตัว

5. มื้อเช้าต้องไม่อด
อันที่จริงควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้และระบบประสาทอัตโนมัติ ใครที่ไม่ชอบมื้อเช้าหนักๆ อาจดื่มแค่น้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้คู่กับกล้วยสักผลก็ยังได้

6. แอโรบิก 10 นาที
ออกกำลังกาย ขยับตัวบ่อยๆ ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ ไม่จำเป็นต้องออกแรงเยอะ แค่เดินหรือเปิดคลิปแอโรบิง่ายๆ 10 – 20 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันก็เวิร์คแล้ว

อ้างอิง
หนังสือ ทำไมสิ่งนี้ถึงดีต่อสุขภาพ เขียนโดย นพ.โคะบะยะชิ ฮิโระยุกิ

https://www.medicalnewstoday.com/articles/150322?fbclid=IwAR3ec04Um2-gZgW8gK9p1-xT7hLFtooOBP-AE-BpA76AYg7o6dK9j5Cf79c#summary

[/col][/row]