ดินเสื่อมโทรมด้วยมือเรา 

[row]

[col span__sm=”12″]

[ux_image id=”13002″]

หากเราเปรียบเทียบผืนดินเสมือนร่างกายของโลก อาจจะทำให้เราตะหนักได้ว่าการบำรุงรักษาไว้ซึ่งดินที่อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากดินเป็นพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตบนบกทั้งหมดต้องอาศัยและหาอาหาร ปัจจุบันการเกษตรทั่วโลกนั้นให้ความสำคัญกับการบำรุงดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน รวมถึงการวางแผนอย่างเป็นระบบในการเพาะปลูก เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และฟื้นบำรุงหลังเก็บเกี่ยวจึงส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มานั้นเป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ แต่ทว่าการเกษตรของไทยในปัจจุบันนั้นยังคงอาศัยการทำการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตสูงต้นทุนต่ำจึงมีการเน้นการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และขาดการฟื้นบำรุงพื้นที่แปลงปลูกอย่างถูกต้อง แต่ราคาปุ๋ยในช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ราคาปุ๋ยขึ้นมาสูงถึง 23% จากช่วงเดือนตุลาคม ปี 2564 ซึ่งทำให้ต้นทุนของเกษตรเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรบางรายจึงงด     การใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร จึงส่งผลให้ผลิตน้อยลงและราคาผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดมีราคาสูงขึ้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี และ จุลินทรีย์ช่วยในการบำรุงดินเริ่มเป็นที่นิยมในเกษตรกรบางกลุ่มเนื่องจากสามารถลดต้นทุนได้ แต่อาจจะต้องวางแผนการใช้อย่างถีถ้วน 

อีก 60 ปีการเกษตรส่วนใหญ่จะถึงจุดจบหากการเสื่อมของหน้าดินยังคงดำเนินต่อไป 

ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2014 “World soil day” Maria Helena ได้กล่าวไว้ว่า ผืนดินเพียง 3 เซนติเมตร ใช้เวลาในการสร้างประมาณ 1,000 ปี แต่หากการเสื่อมของหน้าดินยังคงดำเนินไปอย่างทุกวันนื้โดยไม่มีการบำรุงรักษาหรือมาตรการป้องกันใดๆ ในอีก 60 ปีข้างหน้าเราจะไม่มีผืนดินที่ใช้ในการทำการเกษตรอีกต่อไป เนื่องจากรูปแบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีปริมาณมากซึ่งเป็นการเร่งความเสื่อมโทรมของหน้าดิน รวมถึงสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนั้นส่งผลต่อการเสื่อมของหน้าดินอย่างช้าๆ 

[ux_image id=”13001″]

เราสามารถบำรุงรักษาพื้นที่ทางการเกษตรได้อย่างไร? 

จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากผืนดินคือร่างกายของโลกและเปรียบเทียบกับร่างกายของเราเองการที่เราจะดูแลร่างกายของเรานั้นควรทำอย่างไรให้เรามีสุขภาพที่ดี? แน่นอนว่าคือ การทานของที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย และเมื่อเราเจ็บป่วยเราก็ควรไปหาหมอ แล้วถ้าเปรียบเทียบกับผืนดินที่ใช้ในการเกษตรหล่ะ? การทานของที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่นั้นเปรียบเสมือนการที่เราคอยเติมสารอาหารให้ดินจากสิ่งที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น อินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ และธาตุอาหาร ส่วนการออกกำลังกายนั้น เปรียบเสมือนการเราทำการเกษตรเชิงกายภาพ    เช่น การไถพรวนดิน เพื่อกำจัดและควบคุมวัชพืชที่แย่งอาหารพืชหลัก การคลุมหน้าดินด้วยผ้ายางเพื่อลดการสะสมของเชื้อก่อโรคในดิน หากเราสามารถปฏิบัติได้อย่างมีวินัยและถูกต้องตามกระบวนการการดูแลของพืชแต่ละชนิด จะสามารถลดอัตราการเกิดโรคที่ส่งผลต่อพืชและผลผลิตได้ สุดท้ายการที่เราเจ็บป่วยและไปหาหมอ เปรียบเสมือนการที่เราใช้ยาหรือสารเคมี เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่จะส่งผลต่อสุขภาพและความแข็งแรง อย่างไรก็ตามควรจะใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดสารตกค้างในดินหรือพื้นที่ทางการเกษตรบริเวณนั้นๆ  

[ux_image id=”13000″]

จุลินทรีย์มีส่วนสำคัญในการช่วยบำรุงดินอย่างไร? 

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แต่ละชนิดนั้นมีหน้าที่และความสามารถแตกต่างกันไปในการช่วยบำรุงและปกป้องดิน เช่น Bacillus spp. บางสายพันธุ์มีส่วนช่วยในการเร่งการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุและส่งผลให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารจากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้วได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ดินมีความร่วนซุยจากการมากขึ้นทำให้ระบายน้ำได้ดี ซึ่งช่วยในการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังจนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการรากเน่า และ บางสามารถพันธุ์มีความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อก่อนโรคทางดินเช่น โรครากเน่าโคนเน่า phytophthora spp.         โรคเหี่ยว Fusarium spp. เป็นต้นเนื่องจากมีการแก่งแย่งอาหารในบริเวณที่มีจุลินทรีย์อยู่เพื่อการเจริญเติมโตของสายพันธุ์นั้นๆ แต่จุลินทรีย์ที่ดีจะไม่ส่งผลที่ทำให้เกิดโรคแก่พืชหรือผลผลิต  

Reference 

Only 60 Years of Farming Left If Soil Degradation Continues 2014-2015, World soil day. https://www.ashlandmass.com/DocumentCenter/View/446/Only-60-Years-of-Soil-Left-If-Soil-Degradation-Continues 

ราคาปุ๋ยเคมีพุ่งทำสถิติกระทบพืชเศรษฐกิจหลักอย่างไร 2022.

[/col]

[/row]
[section padding=”0px” padding__sm=”25px”]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”]

[gap height__sm=”20px”]

[ux_text text_align=”center”]

บทความที่เกี่ยวข้อง

[/ux_text]
[gap height=”20px”]

[blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”12271,12257,12232,11761″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”]

[/col]

[/row]

[/section]