จุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ผู้ช่วยตัวสำคัญเรื่องกลิ่นในฟาร์ม

[row]

[col span__sm=”12″]

[ux_image id=”13053″]

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันนี้ไม่อาจมองข้ามเรื่องมลภาวะที่รบกวนกิจกรรมต่างๆ ของตัวสุกรเอง และยังเป็นสิ่งที่รบกวนผู้ปฏิบัติงานไปได้ การเลี้ยงสุกรเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะความต้องการบริโภคโปรตีนจากสัตว์เพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่และขนาดโรงเรือนในการเลี้ยงเท่าเดิม หนีไม่พ้นปัญหาการแออัดของสัตว์ ส่งผลทำให้เกิดกลิ่นเหม็นสะสมจากของเสียที่สัตว์ขับถ่ายออกมามากขึ้นตามไปด้วย มลภาวะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเรื่องกลิ่นที่รบกวนใจของเจ้าของฟาร์ม ที่อาจจะโดนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมเข้ามาตักเตือนหรือเป็นปัญหาชุมชนโดยรอบฟาร์มได้ แต่ก่อนที่เราจะขจัดปัญหากลิ่นเหม็นได้นั้นเราจำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุการเกิดก่อนเสียก่อน

มลภาวะจากฟาร์มเลี้ยงสุกร เกิดจากตัวสุกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารที่ได้รับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงทำให้สารอาหารหลงเหลือออกมาทางสิ่งขับถ่าย ฝุ่นละอองและแมลงวันก็จัดเป็นอีกสาเหตุของการกระจายของกลิ่นด้วยเช่นกัน แหล่งที่มาของกลิ่นของเสียจากฟาร์มส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งขับถ่ายทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในบรรยากาศและเกิดการระเหยให้กลิ่นชนิดต่างๆ เช่น

[ux_image id=”13047″]

ตารางที่ 1 แหล่งที่มากลิ่นของเสียจากโรงเรือนเลี้ยงสุกร

[ux_image id=”13055″]

แหล่งข้อมูล : Aarnink และคณะ (1998 อ้างอิง Spoelstra, 1979: O’Neil และ Phillips, 1992 )

แก๊สแอมโมเนียและกลิ่นในโรงเรือนมีต่อสุขภาพของการผลิตสัตว์โดยตรง แอมโมเนียที่ระดับ 25-30 ppm ของอากาศก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตาและระบบการหายใจ (MWPS-18, 1995) ในสุกรส่งผลทำให้ระดับ pH ของเลือดเพิ่มขึ้น เบื่ออาหาร การกินลดลง สมรรถภาพการผลิตลดลง ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ

จากที่กล่าวมาข้างต้นการแก้ปัญหามีหลากหลายวิธีที่นิยมทำกัน เช่น ลดไนโตรเจนที่ปนเปื้อนในสิ่งขับถ่ายโดยการลดโปรตีนในสูตรอาหาร เสริมกรดอะมิโนเพื่อปรับสมดุลของไนโตเจนให้เหลือตกค้างในมูลให้น้อยลง หรือเติมกลือ CaClแทน CaCoเพื่อลด pH ของสิ่งขับถ่าย และ การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อควบคุมแก๊สแอมโมเนียเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน

  • Non-starch polysaccharides (NSP) เติมในอาหารมีผลทำให้การขับถ่ายไนโตรเจนเปลี่ยนรูปจากยูเรียในปัสสาวะและโปรตีนจากจุลินทรีย์ในมูล การเสริม NSP ที่ระดับ 14-31% สามารถลดสัดส่วนของไนโตรเจนที่ขับถ่ายทางปัสสาวะและมูลจาก 8:1 เป็น 1.2: 1 (Cahn et al., 1997a)
  • การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เสริมในอาหาร (Probiotic) เพื่อใช้ในการบำบัดกลิ่นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์   จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มีมากมายหลายสายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่นิยม อาทิ Bacillus และ Lactobacillus spp. ผลจากการศึกษาพบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์ Probiotic เป็นการแก้ไขปัญหากลิ่นที่ต้นเหตุ จุลินทรีย์จะเข้าไปเจริญเติบในร่างกายสัตว์และสร้างเอนไซม์ต่างๆ เช่น อะไมเลส โปรติเอส ไลเปล และเซลลูเลส ออกมาส่งผลทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารของสัตว์ดีขึ้น มูลมีสารอาหารตกค้างน้อยลง ต้นเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นจึงลดลงตามมาด้วย และอีกประโยชน์ของการเสริม Probiotic ในอาหารสุกรยังช่วยส่งเสริมสมรรถภาพการผลิตได้อีกเช่นกัน (สมชัย และคณะ, 2537)

[row_inner]

[col_inner span=”6″ span__sm=”12″]

[ux_image id=”13049″]

[/col_inner]
[col_inner span=”6″ span__sm=”12″]

[ux_image id=”13048″]

[/col_inner]

[/row_inner]

SAS เลี่ยงเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และใส่ใจทั้งตัวสุกรและเกษตรผู้เลี้ยง ทางบริษัทมีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์โดยเฉพาะ SAS มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และสำหรับการผลิตสุกรเรามีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์  “Biotic Max for Swine” ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Probiotic และ Prebiotic ทำให้มั่นใจได้ว่าตัวจุลินทรีย์จะเข้าไปเจริญเติบโตและไปทำงานภายในตัวสัตว์อย่างแน่นอน และก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวสุกรอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่อง เพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และควบคุมเชื้อก่อโรคไม่ให้เจริญในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการกินอาหารของสุกร เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมโปรตีนและการใช้ประโยชน์ได้ของเยื่อใยในอาหาร เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของสุกร ลดปัญหาการเป็นไข้หลังคลอด ปัญหาเต้านมและมดลูกอักเสบ ลดการถ่ายทอดเชื้อก่อโรคทางมูลจากแม่สู่ลูกในเล้าคลอด และที่สำคัญสามารถลดปัญหามูลแฉะและกลิ่นแก๊สแอมโมเนียในมูลและโรงเรือนสุกรได้อย่างดีเยี่ยม

“Biotic Max for Swine” เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งการส่งเสริมสุขภาพให้สุกรและการลดมลพิษทางอากาศได้ดีอีกตัวหนึ่ง

[row_inner h_align=”center”]

[col_inner span=”6″ span__sm=”12″]

[ux_image id=”13050″]

[/col_inner]

[/row_inner]

[/col]

[/row]
[section padding=”0px” padding__sm=”25px”]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”]

[gap height__sm=”20px”]

[ux_text text_align=”center”]

related articless

[/ux_text]
[gap height=”20px”]

[blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”12294,12250,12225,11756″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”]

[/col]

[/row]

[/section]