กินนานเค่ไหน? ต้องหยุดพักไหม? ตอบคำถามเรื่องการกินโปรไบโอติก

[ux_banner bg=”12038″ bg_size=”original”][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” v_align=”middle” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”5″ span__sm=”9″ span__md=”6″ align=”left”][button text=”ท้องผูก” color=”secondary” style=”outline” size=”small” radius=”4″ expand=”0″ link=”https://sasgroup.co/corporate/%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b8%81/”][/col][/row] [gap height=”10px”][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

“โปรไบโอติกทำหน้าที่เป็นครีมนวดผมให้ลำไส้”

คือคำอธิบายหน้าที่โปรไบโอติกในมุมมองของจูเลีย แอนเดอร์ส คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร คุณหมอเล่าผ่านหนังสือขายดี Gut: The Inside Story of Our Body’s Most Underrated Organ ว่าเมื่อเราหยุดกินโปรไบโอติก ผลคือจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ต้องทำหน้าที่อย่างโดดเดี่ยว

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เรากินโปรไบโอติกทุกวันได้ไหม วันนี้ SAS ขออาสามาตอบคำถามค้างใจเกี่ยวกับการกินโปรไบโอติก

สิ่งแรกที่ต้องรู้เลยคือ โปรไบโอติกไม่ใช่ยา แต่เป็นจุลินทรีย์ดีในธรรมชาติร่างกายของเรา ใครที่ลำไส้แข็งแรงจะมีโปรไบโอติกเยอะกว่าคนอื่นในทุกวินาทีที่อาหารไม่สะอาด การใช้ชีวิตอย่างบีบคั้น ความเครียด หรือแบคทีเรียร้ายกำลังโจมตีเราแบบไม่ยั้งมือ โปรไบโอติกก็คอยปกป้องเราไม่หยุดเช่นกัน เมื่อกินโปรไบโอติก สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ เหล่านี้จะเดินทางมุ่งสู่ลำไส้ เพื่อไปรวมตัวกับจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้เรา พอเช็กชื่อเรียบร้อยแล้วก็เริ่มทำหน้าหน้าที่กำจัดแบคทีเรียร้ายให้น้อยลง

บางคนกังวลว่ากินโปรไบโอติกไปนานๆ จะทำให้ลำไส้ขี้เกียจจนสร้างจุลินทรีย์ดีด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งโปรไบโอติกอย่างเดียวหรือเปล่า ศาสตราจารย์ไช่อิงเจี๋ย จากสถาบันวิจัยชีวเคมีและอณูชีววิทยา ได้คลายความกังวลด้วยคำยืนยันว่าไม่จริงเลย

ในหนังสือลำไส้ดีชีวียืนยาว อาจารย์ไช่เล่าว่า ที่บางคนหยุดกินโปรไบโอติกแล้วอาการไม่สบายท้องกลับมา อาจเพราะยังใช้ชีวิตรูปแบบเดิม อาหารการกินเดิมๆ เช่น อาหารเส้นใยน้อย กินน้ำตาลเยอะ เมื่อไม่ได้กำลังเสริมจากโปรไบโอติก จุลินทรีย์ดีในลำไส้จึงอ่อนแรงลง

โดยภาพรวมแล้ว เราสามารถกินโปรไบโอติกทุกวันได้อย่างสบายใจ อาจารย์ไช่ยังเล่าต่อว่า ใครที่ท้องผูกมากๆ อาจกินโปรไบโอติกเพิ่มจากคำแนะนำบนฉลากได้ เช่น จาก 1 แคปซูลเพิ่มเป็น 2 – 3 แคปซูล เมื่ออาการดีขึ้นก็กลับไปกินตามฉลากอย่างเดิม

คุณหมอจูเลียเองก็พูดถึงกฎของการกินโปรไบโอติกว่า เมื่อกินโปรไบโอติกประมาณ 4 สัปดาห์แล้วให้ลองสังเกตการเปลี่ยนแปลง เช่น เริ่มขับถ่ายได้ดีขึ้นหรือปวดท้องน้อยลงไหม จะได้รู้ว่าโปรไบโอติกสายพันธุ์ที่กินอยู่เหมาะกับเราหรือไม่

ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าไม่ใช่ยา แต่สำหรับใครที่ร่างกายอ่อนแอมาก มีโรคภูมิคุ้มกัน กำลังรับการรักษามะเร็ง เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมถึงผู้สูงอายุและเด็ก ควรปรึกษาคุณหมอก่อนกินโปรไบโอติกจะดีที่สุด

ที่สำคัญ ใครแพ้อาหารต้องอ่านฉลากอย่างละเอียด เพราะอาจมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ถั่วเหลือง ไข่ หรือผลิตภัณฑ์จากนมอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นจากโปรไบโอติกที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนครีมนวด อาจเปลี่ยนมาทุบร่างกายตุ้บตั้บจนส่งผลเสียมากกว่าได้

[/col][/row]